วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วันที่ 15 มกราคม 2557 ครั้งที่ 8 เวลา 08.30-12.20 น

เวลาเข้าเรียน 08.30น เวลาเข้าเรียน 08.30น เวลาเลิกเรียน 12.20น

 วันนี้ พวกหนูมานั่งรอเรียนพอถึงเวลาเรียนอาจารย์ก็ยังไม่มา ปกติอาจารย์เป็นคนตรงต่อเวลาไม่เคยมาสอนช้า แต่วันนี้อาจารย์มาสาย นักศึกษาถามอาจารย์ว่า " อาจารย์ทำไมวันนี้อาจารย์มาสายค่ะ" 
อาจารย์เลยตอบว่า " เพราะอาจารย์บาสอาจารย์เลยมาสาย" นักศึกษาทุกคนหัวเราะกันทั้งห้อง
วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาจับกลุ่มล่ะ 5 คน เพื่อทำหนังสือนิทาน โดยให้นักศึกษาช่วยกันแต่งเรื่อง

เรื่อง ลูกหมูเก็บฟืน

  กาลครั้งหนึ่งมีบ้านอยู่สามหลัง หลังหนึ่งมีรูปร่างวงกลม หลังที่สองมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม และหลังที่สามมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม ในบ้านแต่ละหลังมีลูกหมูอาศัยอยู่หลังละ 2 ตัว หมูแต่ละตัวออกไปทำงานทุกเช้า หมูที่อยู่บ้านหลังที่เป็นวงกลมต้องเดินทางไปทำงานซึ่งไกลมาก หมูที่อยู่บ้านสามเหลี่ยมกับสี่เหลี่ยมเดินทางไม่ไกลจากที่ทำงาน หมูที่อยู่บ้านที่เป็นวงกลมเดินทางไปกลับฟืนที่ป่าซึ่งในป่ามีฟืนเยอะแยะ เจ้าหมู 2 ตัวเลยเรียกเพื่อนที่อยู่บ้านสามเหลี่ยมกับสี่เหลี่ยมเพื่อมาช่วยกลับฟืน หมูทั้ง 6 ช่วยกันนับฟืนที่เก็บได้มีทั้งหมด 10 ท่อน แล้วหมูก็นำฟืน 3 ท่อน ไปจุดไฟ เพื่อทำกลับข้าวหมูเลยเหลือฟืนทั้งหมด 7 ท่อน แล้วหมูก็นำฟืน 7 ท่อน ที่เหลือเก็บไว้ใช้วันต่อไป

ผลงานของกลุ่มค่ะ

ตอน * หมูที่อยู่บ้านสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมเดินทางไม่ไกลจากที่ทำงาน*


รวมเล่มนิทานเรื่อง ลูกหมูเก็บฟืน

การนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้
ได้รู้วิธีการทำนิทาน นิทานสามารถนำไปสอนเด็กได้ นิทานยังสอดแทรก เรื่องรูปทรงเขาคณิต เรื่องจำนวน เรื่องระยะทาง ทำให้เด็กเรียนคณิตศาสตร์ผ่านการเล่านิทานสามารถทำให้เด็กเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ง่ายขึ้น และยังสนุกกับนิทาน


บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วันที่ 8 มกราคม 2557 ครั้งที่ 7 เวลา 08.30-12.20น.

เวลาเข้าสอน08.30น. เวลาเข้าเรียน 08.30น. เวลาเลิกเรียน 12.20น.

    วันนี้มาสายแต่ก็ทันเรียนค่ะ 

วันนี้ได้เรียนเรื่องกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย

เด็กปฐมวัยเรียนอะไรในคณิตศาสตร์

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
- จำนวนและการดำเนินการ
-การวัด
- เรขาคณิต
- การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
- ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย

1. ความคิดเชิงคณิตศาสตร์
- จำนวนนับ 1-20
- เข้าใจหลักการนับ
- รู้จักเลขฮินดูอารบิกและเลขไทย
- รู้ค่าของจำนวน
- เปรียบเทียบ เรียงจำนวน
- การรวมและการแยกกลุ่ม

2 เข้าใจความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
- เปรียบเทียบ เรียงจำนวน ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
- รู้จักเงินเหรียญ ธนบัตร
- เข้าใจเกี่ยวเวลาและค่าที่ใช้บอกเวลา

3 มีความรู้เข้าใจพื้นฐานเรขาคณิต
- ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
- รูปเรขาคณิตสามมิติ และรูปเรขาคณิตสองมิติ

4 มีความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

5 มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิแบบง่าย

6 มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
จำนวน
- การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้รับจากการนับ
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การรวมและการแยกกลุ่ม
- ความหมายของการรวม
- การรวมกันสองกลุ่มและมีความรวมไม่เกิน 10

สาระที่ 2 : การวัด
มาตรฐาน ค.ป 1.2 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
- การเปรียบเทียบ / การวัด / การเรียงลำดับความยาว
- การเปรียบเทียบ / การชั่ง / การเรียงลำดับน้ำหนัก
- การเปรียบเทียบปริมาตร / การตวง
เงิน
- ชนิด และค่าของเงิน เหรียญและธนบัตร
เวลา
- ช่วงเวลาในแต่ละวัน
- ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน

สาระที่ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป 3.1 รู้จักคำในการบอกตำแหน่งทิศทางและระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป 3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต เข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
ตำแหน่งทิศทาง และระยะทาง
- การบอกตำแหน่งทิศทาง และระยะทาง ของสิ่งต่าง ๆ 
รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
- ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกรวย ทรงกระบอก
- รูปวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม
- การเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตสองมิติ
* สามมิติ = จับต้องได้
   สองมิติ = จับต้องไม่ได้

สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป 4.1 เข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์
แบบรูปและความสัมพันธ์
- รูปร่าง ขนาด สี สัมพันกับอย่างใดอย่างหนึ่ง

สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป 5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม

สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
- การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิต และการนำเสนอ
การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และความริเริ่มสร้างสรรค์

    วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำกิจกรรมโดยให้เลือกรูปวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม มาคนละรูป
โดยดิฉันเลือกรูปวงกลม พอเลือกเสร็จอาจารย์บอกว่าให้ออกแบบรูปทรงเรขาคณิตที่ตนเองเลือก
แต่ต้องเป็นรูปสัตว์


นี้คือรูปที่วาดค่ะ *ลูกไก่*

  ความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้

ได้รู้ทักษะของเด็กปฐมวัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เพื่อจะได้นำไปสอนเด็กได้ตรงตามสาระเรียนรู้ และนำกิจกรรมที่ได้ทำไปประยุกต์ใช้กับเด็กปฐมวัยเกี่ยวกับเรื่องรูปทรงค่ะ


Template by:

Free Blog Templates